หน้าเว็บ

ลักษณะของพื้นที่ที่เกิดดินถล่ม

พื้นที่เสี่ยงดินถล่ม
ได้แก่ พื้นที่หรือบริเวณที่อาจมีการเคลื่อนไหวของตะกอนมวลดินและหินที่อยู่บนภูเขาสูงสู่ที่ต่ำในลำห้วยหรือทางน้ำไหลผ่าน ขณะที่เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่เสี่ยงดินถล่มมีลักษณะ ดังนี้
    ·   บริเวณที่ลาดเชิงเขาสูงหรือหน้าผาหินที่ผุพังง่ายและมีชั้นดินหนาจากการผุกกร่อนของหิน
    ·   บริเวณที่เป็นทางลาดชันหรือที่ลาดเชิงภูเขา ซึ่งมีการก่อสร้างในพื้นที่ดังกล่าว เช่น การสร้างถนน การทำเหมืองแร่ เป็นต้น
    ·   บริเวณที่ดินลาดชันมากและมีหินก้อนใหญ่ฝังอยู่ใต้ดิน โดยเฉพาะบริเวณใกล้ทางน้ำไหลผ่าน
    ·   พื้นที่ภูเขาที่มีการตัดไม้ทำลายป่าและไม่มีพืชปกคลุมผิวดิน ทำให้ชั้นดินขาดรากไม้ยึดเหนี่ยว
    ·   บริเวณที่เคยเกิดดินถล่ม มีร่องรอยดินไหล หรือดินเลื่อนบนภูเขา โดยมีสาเหตุจากการก่อสร้าง
    ·   บริเวณพื้นที่ลาดต่ำ แต่มีชั้นดินหนาและอิ่มตัวด้วยน้ำมาก




หมู่บ้านเสี่ยงดินถล่ม
ได้แก่ หมู่บ้านหรือชุมชนที่บริเวณลำห้วย ที่ลาดเชิงเขา ที่ลุ่มใกล้ภูเขาสูง ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการเลื่อนไหลของมวลดินและหินและปริมาณมากที่มา พร้อมกับน้ำตามลำห้วย โดยที่ตั้งของหมู่บ้านเสี่ยงดินถล่มลักษณะ ดังนี้
    ·   อยู่ติดภูเขาและใกล้ลำห้วย
    ·   มีร่องรอยเดินไหลหรือเลื่อนบนภูเขา
    ·   อยู่บนเนินหน้าหุบเขาและเคยเกิดดินถล่ม
    ·   เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันบ่อยครั้ง
    ·   มีกองหิน เนินทรายปนโคลน และต้นไม้ในลำห้วย




  ฤดูการการเกิดดินถล่ม
    ·   ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีโอกาสการเกิดดินถล่มในช่วง เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อน

    ·   ภาคใต้ มีโอกาสเกิดดินถล่มในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เนื่องจากเป็นช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ